วิวัฒนาการการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และอนาคตของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

posted in: Blog | 0

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน ข้อมูลส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะถูกเก็บผ่านหน้าจอ ไม่ว่าเป็นตอนที่เราจะใช้คอมพิวเตอร์หรือตอนที่เราใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งในอนาคตเราอาจจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้มีการเก็บข้อมูลง่ายขึ้น เช่น สปีกเกอร์อัจฉริยะ เสื้อผ้าที่ติดเซนเซอร์ และเครื่องตรวจเฝ้าระวังสุขภาพที่เราใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา เป็นต้น ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าอนาคตของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นอย่างไร เราจะพาไปดูวิวัฒนาการการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลกันก่อนค่ะ !

วิวัฒนาการการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการของมันมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี 1960 รัฐบาลสหรัฐได้ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลประชากรของตัวเอง ซึ่งเป็นจำนวนมหาศาล และบริษัทเอกชนก็ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเก็บข้อมูลและประมวลผลพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย และต่อมาการเก็บข้อมูลยังคงดำเนินการไปจนถึงในยุคของอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา ทำให้การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหนือชั้นขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และสามารถเก็บได้มากขึ้น โดยผ่านช่องทาง Online Tracking ต่าง ๆ อย่าง

  • คุ้กกี้ทั่วไป (Traditional Cookies) คุ้กกี้ชนิดนี้จะเก็บข้อมูลทั่วไปจากเว็บเดียว เมื่อเข้าครั้งแรกก็จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับความเป็นตัวตนของผู้ใช้เอาไว้ และเมื่อเรียกใช้อีกครั้ง คุ้กกี้ตัวนี้ก็จะเรียกข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ออกมา
  • ซุปเปอร์คุ้กกี้ (Super Cookies) เป็นคุกกี้ที่ยากจะลบออกจากบราวเซอร์ได้ เพราะคดีของบริษัทชื่อดังที่ใช้ซุปเปอร์คุกกี้ อย่าง Verizon ต้องจบลงด้วยการจ่ายค่าปรับถึง 1.35 ล้านดออลาร์สหรัฐ เพราะใช้คุ้กกี้ดังกล่าวหาประโยชน์
  • ฟิงเกอร์ปรินเตอร์ แทรกเกอร์เว็บไซต์ตัวนี้เฝ้าติดตามผู้ใช้โดยการสร้างโปรไฟล์จำเพาะตามอุปกรณ์ผู้ใช้ แทรกเกอร์ชนิดนี้เก็บข้อมูล เช่น หมายเลขไอพีของเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ฯลฯ
  • แทรกเกอร์เพื่อการยืนยันตัวตน ตัวนี้ต่างจากคุ๊กกี้มาก เพราะจะระบุข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้อย่างชัดเจน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอีเมล ซึ่งจะซ่อนตัวอยู่ในหน้าล็อคอิน และคอยเก็บข้อมูลที่มีการพิมพ์ผ่านเว็บล็อคอินทั้งหมด
  • คุ้กกี้ที่ถูกใช้งานเป็นช่วง ๆ คุกกี้ประเภทนี้เก็บข้อมูลบนเว็บไซต์เดิม ๆ เช่น ข้อมูลการล็อคอินเข้าสู่ระบบ และช่วยจดจำว่า คุณได้ซื้ออะไรบ้าง แม้จะปิดหน้าจอไปแล้ว คุ้กกี้ตัวนี้ก็ยังจดจำได้และไม่มีลบข้อมูลทิ้ง
  • สคริปต์เล่นซ้ำ (Session-replay Scripts) เรียกได้ว่าเก็บข้อมูลได้ละเอียดมาก เพราะเก็บข้อมูลของผู้ใช้ได้ตั้งแต่แรก เช่น คลิกอะไร ดูสินค้าอะไร ไปจนถึงพาสเวิร์ดทุกอย่างที่ป้อนผ่านอินเทอร์เน็ต และเจาะข้อมูลย้อนหลังได้ด้วย

จะทำให้เห็นได้ว่าวิวัฒนาการการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะเริ่มเก็บบันทึกมาเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจจะยังไม่สะดวกเท่าปัจจุบัน เพราะใช้ระบบกระดาษ แต่ต่อมาเมื่อมีคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น และในยุคของอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหนือชั้นขึ้น เร็วขึ้น และง่ายขึ้นอีกด้วย

กฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 (PDPA) คืออะไร

อนาคตของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

ในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลก็เก็บได้ง่าย และสะดวกขึ้น เพราะข้อมูลส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะเก็บผ่านหน้าจอ ซึ่งสามารถเก็บผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนในตอนที่เราใช้งาน แต่ในอนาคตการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ได้เก็บไว้และนำเอาออกมาใช้โดยมนุษย์อย่างเดียว แต่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้และวิเคราะห์ที่เหนือชั้นขึ้น ผ่านปัญญาประดิษฐ์ และพฤติกรรมของเราจากข้อมูลต่าง ๆ จะถูกตัดสินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น ปัญญาประดิษฐ์จะบอกเราว่า ใครควรจะดูแลสุขภาพเราในอนาคต และดูแลอย่างไร และผู้กระทำผิดคนใดควรได้รับการประกันตัวโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดการหลบนี สิ่งเหล่านี้ เกิดจากการวิเคราะห์และประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์ที่เก็บรวบรวมพฤติกรรมมนุษย์มาทุกรูปแบบทั้งสิ้น ถึงแม้ปัจจุบันจะมีข้อกำหนดมากมายในเรื่องของข้อมูลและความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น แต่บริษัทด้านเทคฯ ยักษ์ใหญ่ เช่น Amazon, Google, Apple และ Facebook ก็พยายามผลักดันเพื่อให้มีการใช้ข้อมูลของผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ ยังมีข้อถกเถียงกันว่า หากบริษัทเหล่านี้หรืออื่น ๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น อาจจะต้องมีการจ่ายเงินเพื่อซื้อข้อมูลอีกด้วย

 

แต่ถึงอย่างนั้นข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ไม่ว่าจะเป็น เลขบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ข้อมูลทางการแพทย์ ฯลฯ ที่เราได้กรอกไปใช้กับแอปต่าง ๆ อาจตกอยู่ในมือของบุคคลที่ 3 ได้ง่าย เช่น แฮกเกอร์ บริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน บริษัทขายประกัน หรือบัตรเครดิต หรือแม้แต่บริษัทขายยาต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลส่วนตัวตามเว็บไซต์ หรือแอปต่าง ๆ ด้วย

ข้อมูล : marketingoops.com